ทศวรรษ 1970 ของ สถานีโทรทัศน์ในฮ่องกง

ยุคเริ่มการแข่งขัน

ในปี พ.ศ. 2513 หลังจาก TVB เปิดตัวบริการฟรีทีวี การพัฒนาฟรีทีวี ก็มีประสิทธิภาพมาก ตาม "รายงานสถิติบันทึกในฮ่องกง" (Hong Kong Yearbook) ที่ตีพิมพ์ในต้นปีพ.ศ. 2516 โดยเป็นการรายงานข้อมูลสรุป ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 ว่า"ครัวเรือนในฮ่องกงมีโทรทัศน์ดูอยู่แล้วในขณะนั้นสูงถึง 79.6%" เกือบทุกครัวเรือนในฮ่องกงมีทีวีดูกัน

ซึ่งแยกจำแนกครัวเรือนที่เปิดโทรทัศน์ดูช่อง ทีวีบีได้ถึง 550,000 เครื่อง ส่วนของช่อง อาร์ทีวี ครัวเรือนสามารถรับชมได้เพียง 43,000 เครื่อง และครัวเรือนที่สามารถรับชมได้ทั้งสองช่อง รวมทั้งหมด 83,000 เครื่อง

เมื่อเห็นความเสียเปรียบของช่อง อาร์ทีวี ด้วยข้อจำกัดสัญญาณส่งที่ทางอาร์ทีวีไม่ได้เปิดเป็นฟรีทีวี เหมือนทางช่องทีวีบี ในท้ายที่สุดคุณ " หยิงเซิง" (Yingsheng) หนึ่งในบุคลากรสำคัญในค่ายอาร์ทีวี ขณะนั้นได้เริ่มเปิดให้บริการแพร่ภาพทางค่ายอาร์ทีวีเป็นฟรีโทรทัศน์ครั้งแรก เพื่อแข่งขันกับแย่งเรตติ้งทางช่องทีวีบี ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และเปลี่ยนชื่อจาก ลี่เต๋อ (Lai's TV) มาเป็น "อาร์ทีวี" (Rediffusion Television) และมีเปลี่ยนโลโก้ประจำค่ายขึ้นมาใหม่

ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2513 (1970) จำนวนครัวเรือนที่มีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นมากในทุก ๆ ปี และปีนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการจอแก้ว ที่ได้มีให้บริการเริ่มแพร่ภาพด้วยระบบด้วยระบบ 625 เส้น 25 อัตราภาพ ในระบบวีเอชเอฟ ซึ่งจะเป็นภาพสีในฮ่องกง

จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2515 ทุกครัวเรือนในฮ่องกงสามารถรับชมการแพร่ภาพสี ได้อย่างเต็มรูปแบบ

ในปีพ.ศ. 2516 อาร์ทีวี หยุดหนึ่งเดือน เพื่อเปลี่ยนไปใช้การออกอากาศแบบสี เช่นเดียวกับ ทีวีบี จึงทำให้ผู้ชมดั้งเดิมของช่อง อาร์ทีวี ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาดูช่อง ทีวีบี แทน มีผลให้ยอดคนดูทางช่อง อาร์ทีวี น้อยลงกว่าเดิม และในปีเดียวกัน ทาง ทีวีบี ได้ลิขสิทธิ์จัดงานการ"ประกวดมิสฮ่องกง" เป็นครั้งแรก โดยปีนั้นบนเวทีการประกวด ทีวีบีได้ดาวจรัสแสงดวงใหม่เป็นรองนางงามเข้าสู่สังกัด คือ เจ้าหย่าจือ

ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517 รัฐบาลฮ่องกงได้ยกเลิก "ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวี"  หรือ "ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์" อย่างเป็นทางการ เนื่องจากพลเมืองส่วนใหญ่ในเกาะฮ่องกงมีกำลังเพียงพอที่จะซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มาดูและถือว่าทีวีไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยอีกต่อไป

ในปีพ.ศ. 2513 (1970) ทีวีบี ได้มีการออกอากาศรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก (1970 FIFA World Cup) เป็นครั้งแรก แต่ไม่ใช่การถ่ายทอดสดเป็นเพียงตลับวิดีโอเทปของไฮไลท์การแข่งขันนัดสำคัญของทีมเจ้าบ้าน แม็กซิโกและคลิปการแข่งขันซึ่งออกอากาศห่างกันสองวันแต่ยังไม่ใช่การถ่ายทอดสด 

จากความนิยมของทางช่อง ทีวีบี ส่งผลกระทบต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงลี่เต๋อ" (Lai's Voice) มาก จนต้องคืนใบอนุญาตโดยสมัครใจและไม่ขอต่ออายุใบอนุญาต เป็นเหตุให้การออกอากาศทางวิทยุถูกระงับหลังเที่ยงคืนของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2516[19][20]

จนมาถึงในปีพ.ศ. 2517 (1974) ทีวีบี ได้ถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรก และปีพ.ศ. 2521 (1978) จำนวนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกได้เพิ่มขึ้นเป็น 4 รายการ รวมทั้งรอบเปิดเกม, รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศสองครั้ง และการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกนี้ได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2525 (1982) ทีวีบี ได้ทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกตลอดช่วงการแข่งขันทั้งหมดเป็นครั้งแรก ทำให้ผู้ชมทางบ้านสามารถรับชมการถ่ายทอดสดทุกรายการได้ฟรี[21]

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2519 ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ได้ก่อตั้งกลุ่ม "สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" (镇台三宝) ขึ้นมา ในกลุ่มมีสามนางเอกแถวหน้าประจำช่อง คือ หวงซู่อี้, วังหมิงฉวน และ หลี่ซือฉี[22]

จากความโด่งดังของ "สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี"จึงทำให้ทั้งสามนักแสดงหญิงแถวหน้าทีวีบีได้มีโอกาสร่วมงานต่าง ๆ กันอยู่หลายครั้ง เช่น ทั้งสามได้ถ่ายทำโฆษณาแชมพูยี่ห้อหนึ่งร่วมกัน ซึ่งในภาพนิ่งของโฆษณาชิ้นนี้ จะเห็น วังหมิงฉวนอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง ส่วนหลี่ซีอฉีอยู่ทางขวาและหวงซู่อวี้จะอยู่ทางซ้ายแต่ต่อมาก็มีประเด็นขึ้นมาว่า ทั้งสองดาราสาวคือหลี่ซีอฉีและหวงซู่อวี้ ต่างรู้สึกไม่เห็นด้วยที่ให้ วังหมิงฉวน อยู่ตรงกลาง เปรียบให้เห็นว่าทั้งสองได้รับความนิยมน้อยกว่า ต่อมาได้มีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพของการโฆษณาชิ้นนี้ว่า วังหมิงฉวนเป็นตัวแทนของคนที่มีผมธรรมดาจึงอยู่ตรงกลาง ส่วนหวงซู่อี้เป็นตัวแทนคนที่มีผมแห้ง และหลี่ซือฉีเป็นตัวแทนของคนที่มีผมมัน เลยต้องให้ทั้งสองคนอยู่ทางด้านซ้ายและขวาในรูป หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีข่าวการไม่ลงรอยของทั้งสามคนเกิดขึ้นบ่อยครั้งตามมา รวมไปถึงการไม่ถูกกันของเหล่าบรรดาแฟนคลับของทั้งสามคน อีกด้วย[23]

ในปีพ.ศ. 2518 (1975) หลังจาก อาร์ทีวี ได้ปล่อยละคร "10 คดีแปลก" (十大奇案 1975) ก็ทำให้เรตติ้งพุ่งมาเป็นที่สองรองค่ายทีวีบี จนกระทั่งโดนค่ายน้องใหม่ คือ เจียซือ (Jiashi TV) ที่ได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2518 ทำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดและกลายเป็นสถานีโทรทัศน์(ฟรีทีวี) แห่งที่สามในเกาะฮ่องกง ได้ปล่อยละครกำลังภายในจากนวนิยายของ กิมย้ง มาสร้างเป็นละครเรื่อง "มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of the Condor Heroes 1976) นำแสดงโดย ไป่เปียว รับบท ก๊วยเจ๋ง และ หมีเซียะ รับบท อึ้งย้ง เป็นละครเรื่องที่สาม ของทางเจียซือที่เปิดตัว และยังเป็นละครเรื่องแรก ที่มีเรตติ้งคนดูโดยเฉลี่ยต่อตอนทะลุ 1 ล้านคนครั้งแรกของทางช่องเจียซือ ส่งให้ หมีเซียะ ดาราสาวดาวรุ่งที่รับบท อึ้งย้ง โด่งดังและกลายเป็นนักแสดงหญิงที่ร้อนแรงที่สุดในช่วงเวลานั้นทันที จนความนิยมของสถานีโทรทัศน์ เจียซือ ขึ้นมาเป็นอันดับสอง แทนช่อง อาร์ทีวี โดยยังมีช่องยอดนิยมอันดับหนึ่ง เป็นของ ทีวีบี เหมือนเดิม เนื่องจากอิทธิพลที่มีต่อสื่อและการตลาดของทีวีบีในวงการจอแก้ว นั้นเอง ซึ่งยากที่ช่องอื่นจะล้มแชมป์

ต่อมาทางช่อง ทีวีบี ไม่รอช้ารีบหยิบละครกิมย้งขึ้นมาสร้างแย่งเรตติ้ง มังกรหยก ภาค 1 ของช่อง เจียซือ ได้ใน 5 ตอนสุดท้ายในเรื่อง ตำนานอักษรกระบี่ (The Legend of the Book and Sword 1976)ความยาว 60 ตอนจบ นำแสดงโดย เจิ้งเส้าชิว, วังหมิงฉวน, อู๋เว่ยกัว, หลี่ซือฉี ผลิตโดย หวังเทียนหลิน ละครเรื่องนี้กลายเป็นละครเรื่องแรกของทีวีบีที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายของ กิมย้งโดยออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน - 17 กันยายน พ.ศ. 2519 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 18:50-19:30 น. และสามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่า มังกรหยก ของ เจียซือ

ต่อมาทาง เจียซือ จึงรีบสร้าง "'มังกรหยก ภาค 2" หรือ "ลูกมังกรหยก" (The Return of the Condor Heroes 1976) นำแสดงโดย หลอเล่อหลิน รับบท เอี้ยก้วย , หลี่ทงหมิง รับบท เซียวเหล่งนึ่ง เพื่อจะมาแย่งเรตติ้งกับช่อง ทีวีบี แต่เมื่อออกอากาศภาคนี้กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าภาคแรก และโดนละครของช่อง ทีวีบี ที่ออกอากาศชนมีเรตติ้งแซงหน้าไป

โดยภาพรวมทางช่องน้องใหม่อย่าง เจียซือ ถือได้ว่าประสบความสำเร็จกับละครกำลังภายในชุด มังกรหยก ภาค 1 (1976) มากจนสามารถเบียดช่องเก่าแก่อย่าง อาร์ทีวี ขึ้นมาอยู่ในอันดับสอง ของ สถานีโทรทัศน์ยอดนิยมในฮ่องกงได้ แต่แชมป์เรตติ้งสูงสุดของปีนั้น ก็ยังคงเป็นละครของทางฝั่งทีวีบี ช่วงปลายปีละครสากลฟอร์มใหญ่ทุนสร้างมหาศาลของทีวีบี จำนวนกว่า 120 ตอน เรื่อง "มรสุมชีวิต" (Hotel 1976)ทำเรตติ้งสูงมาก และยังถูกบันทึกสถิติในตอนนั้นว่าเป็นละครเรื่องแรกที่มีจำนวนตอนมากกว่า 100 ตอน และเป็นละครที่ออกอากาศนานติดต่อกันยาวนานถึง 6 เดือน โดยใช้นักแสดง 100 คนเข้าฉาก และผู้กำกับถึง 3 คน นักแสดงนำหลัก ๆ ของเรื่องนี้คือ โจวเหวินฟะ , เหมียวเชี่ยนเหยิน, หลี่เซี่ยงฉิน และ ตีปอร่า เป็นต้น ละครเรื่องนี้ทำให้ โจวเหวินฟะ กับ ดาราสาวดาวรุ่งมาแรง "เหมียวเชี่ยนเหยิน" คบกันในระยะสั้น ๆ[24][25]ละครเรื่องนี้เป็นละครสากลเรื่องแรกของทีวีบีที่มีบรรยากาศทันสมัยและหรูหรามาก หลังจากที่ละครได้ออกอากาศเรตติ้งก็สูงมาก โดยมีผู้ชมประมาณ 1.9 ล้านคน (ประชากรฮ่องกงในปีนั้นคือ 4.551 ล้านคน) กลายเป็นละครแจ้งเกิด โจวเหวินฟะ ในฐานะนักแสดงนำ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ละครยาว 100 ตอนก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม[26][27]

เดือนสุดท้ายของปีพ.ศ. 2519 (1976) เมื่อวันที่ 6-17 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ช่อง ทีวีบี ได้ออกอากาศละครแนวกำลังภายในสืบสวนดัดแปลงจากนวนิยายอมตะสุดคลาสสิกของนักเขียนชื่อดัง โกวเล้ง คือ หงส์ผงาดฟ้า นำมาสร้างเป็นเรื่อง เล็กเซียวหงส์ ภาค 1 ตอนหงส์ผงาดฟ้า 10 ตอนจบ นำแสดงโดย ดาราชายที่เพิ่งย้ายช่องมาจาก อาร์ทีวี คือหลิวสงเหยิน มารับบท เล็กเซียวหงส์ ส่วนดารานำท่านอื่น ได้แก่ หวงอวิ๋นไฉ, หวงเหยียนเซิน และ หันหม่าลี่ เป็นต้น ส่วนผลตอบรับของละครเรื่องนี้ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดีส่วนการแสดงของ หลิวสงเหยิน ในบท เล็กเซียวหงส์ ก็ได้รับคำชมเป็นอย่างมาก ทำให้ หลิวสงเหยิน กลายเป็นต้นแบบมาตรฐานที่สูงของบทนี้ไปเลย

อาจกล่าวได้ว่า หลิวสงเหยิน เป็นหนึ่งในนักแสดงไม่กี่คนในวงการจอแก้วที่สามารถกระโดดเล่นข้ามช่องไปมาระหว่างสองสถานีที่แข่งขันกันและยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ของทั้งสองช่อง ได้โดยที่ไม่มีปัญหา

โดยสี่อันดับแรกละครที่มีเรตติ้งสูงสุดแห่งปีพ.ศ. 2519 (1976) ได้แก่

1. "มรสุมชีวิต" (Hotel 1976)

2. ตำนานอักษรกระบี่ (The Legend of the Book and Sword 1976)

3. "มังกรหยก ภาค 1" (The Legend of the Condor Heroes 1976)

4. เล็กเซียวหงส์ ภาค 1 ตอนหงส์ผงาดฟ้า

ปลายปีพ.ศ. 2519 (1976) ก่อนจะขึ้นปีใหม่ทาง เจียซือ ได้ออนแอร์ละครที่สร้างจากการดัดแปลงจากนวนิยายกิมย้งเรื่อง เพ็กฮวยเกี่ยม (碧血劍) ขึ้นเป็นละครครั้งแรก ในชื่อเรื่องว่า ดาบมังกรคะนองเลือด 25 ตอนจบ โดยได้นักแสดงนำชายและหญิงในเรื่อง คือ เฉินเฉียง และ เหวินเซียะเอ๋อ และยังมี หลีทงหมิง ร่วมแสงนำด้วยอีกคนโดยรับบท อาจิ่ว (阿九) ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ถึง 28 มกราคม พ.ศ. 2520 ถือเป็นละครแจ้งเกิดในฐานะดารานำให้กับ เหวินเซียะเอ๋อ ให้กลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของทางค่ายด้วยอีกคน หลังจากนั้น เจียซือ ได้ก่อตั้ง กลุ่ม "สามยอดมณีเอกแห่งเจียซือ" ขึ้นมา ซึ่งนำสามนักแสดงหญิงแนวหน้าของทางช่อง ประกอบด้วย หมีเซียะ, หลี่ทงหมิง และ เหวินเซี๊ยะเอ๋อร์ เพื่อแข่งขันกับกลุ่ม สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี" (镇台三宝) ที่ก่อตั้งโดยทีวีบีมาก่อนหน้านั้น

ปีต่อมาพ.ศ. 2520 (1977) ทาง อาร์ทีวี ได้ปล่อยละครหลายเรื่องออกมาเพื่อดึงคนดูจาก เจียซือ กลับมาจนได้ในเรื่อง "คนจริงทรนง" 《大丈夫 1977》、สิบนักฆ่าเพชรฆาต《十大刺客》、ยอดรักนักกลโกง《十大騙案》ละครทั้งหมดมีเรตติ้งเอาชนะละครของ เจียซื่อ ได้สำเร็จจนทำให้ช่อง เจียซือ ร่วงหล่นลงมาอยู่ในอันดับสามของช่องที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง

ในช่วงเวลานั้นการดูทีวีได้กลายเป็นความบันเทิงหลักสำหรับชาวฮ่องกง และรายการต่าง ๆ ของทางช่องทีวีบีต่างได้รับเรตติ้งสูงสุดอยู่ระหว่าง 60-70 % เหนือคู่แข่งทั้งสองช่อง[28]

ยุคแรก ๆ ของทีวีบีที่ออกอากาศนั้น องค์ประกอบละครต่าง ๆ ส่วนใหญ่ดูเหมือน "ละครเวที" ต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมา เมื่อหนึ่งในบุคลากรระดับสูง คุณ "เซลิน่า โจว" ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาวงการจอแก้วของฮ่องกง (Hong Kong TV) เธอทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ฟรีหลักสามแห่งในฮ่องกง คือ ทีวีบี , อาร์ทีวี และ เจียซือ (ก่อนจะปิดตัวลง) โดยเธอเข้าร่วมกับ ทีวีบี ในปีพ.ศ.2509 และเป็นหนึ่งในพนักงานกว่า 30 คนที่เริ่มก่อตั้งสร้างสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ขึ้นมาอีกด้วย

เธอมีพรสวรรค์มากมายทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ถือได้ว่าเป็นผู้อาวุโสรุ่นแรกในฮ่องกง เธอได้ร่วมผลิตละครโทรทัศน์ยอดนิยมออกมาหลายเรื่อง และเริ่มเป็นจุดเปลี่ยนของการเพิ่มจำนวนตอนที่มากกว่า 20 ตอนขึ้นไปจนถึง 100 ตอน เช่น "มรสุมชีวิต" (狂潮 1976), "ไฟรักไฟพยาบาท" หรือ "เพลิงรักเพลิงแค้น" (午夜情) จนประสบความสำเร็จ

จนต่อมาทาง ทีวีบี เริ่มนิยมสร้างละคร จำนวน 50 -100 ตอนขึ้นมา เช่น "บ้านแตก" (家變 1977), ชะตาทรนง (大亨 1978) และ "ไอ้หนุ่มกวางตุ้ง" (強人 1978) โดยเรื่องหลังถือเป็นละครชุดเรื่องแรกของประวัติศาสตร์ของฮ่องกงทีวี ที่กองถ่ายเดินทางไปุถ่ายทำที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งะละครเหล่านี้ ทำให้ ทีวีบี เป็นแชมป์เรตติ้งชนะทุกสถานี ทั้ง อาร์ทีวี และ เจียซื่อ โดยเฉพาะเรื่อง บ้านแตก ที่ วังหมิงฉวน นำแสดง ในขณะนั้นสร้างสถิติเรตติ้งสูงสุดได้ถึง 95% ส่งให้เธอเป็นนักแสดงหญิงท็อปฟอร์มของทางช่องทีวีบี

ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2521 (1978) ทีวีบีได้ออกอากาศละครสากลฟอร์มใหญ่เกือบร้อยตอน เรื่อง "ชะตาทรนง" (Vanity Fair 1978) ละครเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่นำนักแสดงชายชื่อดังแถวหน้าของทีวีบีสามคน คือ เจิ้งเส้าชิว, หลิวสงเหยิน และ โจวเหวินฟะ มาแสดงบทนำร่วมกัน โดยประกบนักแสดงหญิงชื่อดัง เช่น หลีซือฉี และยังมี เจ้าหย่าจือ มารับบทนำอีกคน อีกทั้งยังมีดาราสาวดาวรุ่งน้องใหม่ ของวงการในขณะนั้นอย่าง เฉินอวี้เหลียน มาร่วมแสดงในบทเล็ก ๆ อีกด้วย และละครเรื่องนี้ก็เกิดเหตุรักในกองถ่ายขึ้นมาระหว่าง โจวเหวินฟะ และ เฉินอวี้เหลียน ซึ่งเป็นข่าวซุบซิบในคอลัมท์บันเทิงในช่วงเวลานั้น

ละครเรื่อง "ชะตาทรนง" ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี หลังละครอวสาน ดารานำชายชื่อดังทั้งสามคน คือ หลิวสงเหยิน, เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ได้ถูกขนานนามว่า "สามพี่ใหญ่แห่งทีวีบี" ซึ่งทั้งสามคนเปรียบเสมือนป็นนักแสดงชายแนวหน้าของทางช่อง เพราะละครของพวกเขาทั้งสามคนแสดงนำมักจะได้เรตติ้งที่สูงและเหนือคู่แข่งเสมอ แต่ในช่วงนั้นทั้ง เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ต่างอยู่ในสังกัดทีวีบีโดยที่ไม่มีการย้ายข้ามช่องไปมาเมื่อหมดสัญญาแบบ หลิวสงเหยิน

ในช่วงที่ทีวีบีได้รับความนิยมอย่างสูงจากละครตอนยาว ทางช่อง เจียซือ (Jiayi TV) ได้เสนอเงินเดือนที่สูงกว่า ทีวีบี หลายเท่าให้กับคุณ "เซลิน่า โจว" เพื่อดึงตัวเธอให้ออกจากทีวีบี มาร่วมงาน และเธอได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของช่อง เจียซือ, เธอได้มีจัดระเบียบผังโปรแกรมใหม่ของทางช่อง อย่างมีนัยสำคัญ หรือแม้กระทั่งระดมทุนสร้างละครที่มีจำนวนตอนมากเพื่อถ่ายละครยาว 100 ตอนเหมือนละครดังเรตติ้งสูงของทางช่องทีวีบี เรื่อง "บ้านแตก" (家變 1977) ที่นำแสดงโดย วังหมิงฉวน

โดยเจียซื่อมีการตั้งชื่อเรื่องนี้ที่จะสร้างว่า "ชีวิตรักเหล่าเซเลบ" (名流情史 1978) นำแสดงโดย ดาราชั้นนำของค่าย เจียซือ ได้แก่ หมีเซียะ เจิ้งอวี้หลิง ไป่เปียว เป็นต้น โดยมีการยกกองไปถ่ายทำที่เกาะฮาวายอีกด้วย ในขณะที่ละครกำลังถ่ายทำ ไม่จบ ทางช่อง เจียซือ ได้ปิดตัวลงจากผลดระทบขาดทุน และหลัง ๆ ละครมีเรตติ้งไม่ดี จึงทำให้ละครฟอร์มใหญ่เรื่องนี้ ออนแอร์ทางทีวีได้แค่ 36 ตอน เพราะ เจียซื่อ ได้ล้มละลายเนื่องจากปัญหาทางการเงิน และจำนวนตอนที่ยังไม่ได้ถ่ายทำก็ถูกระงับการสร้างอย่างถาวร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (1978) ค่ายเจียซือ อยู่กับการแข่งขันในวงการจอแก้วไม่ถึง 3 ปีนอกจาก เจียซือ จะประสบปัญหาหารขาดทุนแล้ว ยังโดนข้อจำกัดทางด้านสัญญาช่องในเรื่องเวลาของการฉายละครที่กำหนดโดยรัฐบาลฮ่องกง ที่ให้ทาง เจียซือ เปลี่ยนการออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ ไปออนแอร์รายการเพื่อการศึกษาแทน หรือแม้แต่การจำกัดโฆษณา จึงทำให้ทาง เจียซือ ไม่มีกำไรมาหมุนต่อ ทำให้ไม่สามารถสู้กับทางค่าย ทีวีบี หรือ เอทีวี ได้เลย สิ่งที่เกิดกับช่อง เจียซือ ในเวลานั้น ถูกสื่อต่าง ๆ ตีพิมพ์และที่เรียกว่า "การโจมตีเดือนกรกฎาคม" และคุณ "เซลิน่า โจว" ได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะผลงานไม่ดีของเธอนั้นเอง ส่วนดาราในสังกัด เจียซือ แต่ละคนต้องแยกย้ายไปตามทาง เช่น เจิ้งอวี้หลิง ได้ย้ายไปเข้าสังกัดทีวีบี ส่วน หมีเซียะ นักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งแห่งค่ายเจียซือ เธอถูกทั้งสองค่ายใหญ่อย่าง ทีวีบี และ เอทีวี ต่างเจรจาให้เธอมาเข้าสังกัด โดยยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้เธอ แต่ หมีเซียะ เธอตัดสินใจเน้นรับงานแสดงกับทางช่อง เอทีวี มากกว่า แต่เธอรับปากทาง ทีวีบี ว่าถ้าคิวงานไม่ชนกับละครทางค่ายเอทีวี เธอจะข้ามช่องไปเล่นให้บ้าง เธอกลายเป็นนักแสดงนำหญิงเพียงคนเดียว ที่เล่นข้ามช่องไปมาได้โดยไม่มีปัญหากับทางผู้ใหญ่ของทั้งสองช่อง ส่วนนักแสดงแนวหน้าช่องเจียซือ อีกสองคน คือ หลี่ทงหมิง และ เหวินเซียะเอ๋อ ต่างย้ายตามหมีเซียะไปอยู่ค่าย อาร์ทีวี เช่นกัน

ทางด้าน หมีเซียะ และ เหวินเซียะเอ๋อ เมื่อย้ายไปอยู่สังกัดอาร์ทีวี ต่างประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ มีเพียง หลี่ทงหมิง ที่กลับไม่ค่อยได้รับความนิยม และอาร์ทีวี ก็ไม่ได้ผลักดันส่งเสริมเธอเท่าที่ควร เนื่องจากทางช่องมีนักแสดงหญิงที่โดดเด่นมากมายหลายคน ต่อมา หลังจากละครเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน ที่ หลี่ทงหมิง รับบทเพียงแค่รับเชิญ เธอได้ตัดสินใจออกจากวงการบันเทิง ด้วยเหตุที่ว่า เธอต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศ หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวเกี่ยวกับตัวเธออีกเลย ส่วนผลงานการแสดงช่วงท้าย ๆ ของเธอ คือ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (經典教育電視 1981) ของทางช่อง "สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) และภาพยนตร์เรื่อง "12 กระบวนท่าฝ่ายุทธจักร" (My Kung Fu 12 Kicks 1979) นำแสดงโดย เหลียงเสี่ยวหลง

หลังจากที่ช่อง เจียซือ ล้มละลาย เหลือ 2 ช่องใหญ่อย่าง ทีวีบี และ อาร์ทีวี ตั้งแต่นั้นมาการแข่งขันระหว่างสองสถานีโทรทัศน์ก็เข้มข้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปีพ.ศ. 2521 (1978) ช่อง อาร์ทีวี ได้ผลิตละครยาวเกือบ 100 ตอนเรื่อง "น้ำตาจระเข้" (鱷魚淚 ATV, 1978) เพื่อออนแอร์แย่งเรตติ้งรายการ "วันชื่นคืนสุข" (Happy Tonight) ซึ่งเป็นวาไรตี้ยอดนิยมของช่อง ทีวีบี และก็แย่งผู้ชมหน้าจอช่องทีวีบี มาได้ระดับหนึ่ง เพราะในช่วงนั้นมีผู้คนบางส่วนในฮ่องกง ก็ไม่ค่อยชอบดูรายการวาไรตี้มากนัก บีบให้ทาง ทีวีบี ผลิตละครแนวแฟนตาซี ลึกลับเหนือธรรมชาติ มาชนเอาเรตติ้งคิน เรื่อง "ตำนานพิศวง" (Mystery Beyond 1978) เป็นตอน ๆ ตอนละ 10 นาที แต่ละตอนมีความน่าสนใจลุกลับโดยละครชุดนี้มีดาราแวะเวียนมาร่วมแสดงหลายคน เช่น หลิวสงเหยิน โจวเหวินฟะ เป็นต้นรวมไปถึงละครสั้น เรื่อง "อ้อมอกแม่" (The Seasons) ที่ออกอากาศ ตอนละ 15 นาที ในฮ่องกงและก็ได้รับความนิยมมากจากผู้ชม

นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ทีวีบี ได้สร้างละครแนวกำลังภายในของ กิมย้ง ขึ้นมาจำนวน 25 ตอนจบในเรื่อง "ดาบมังกรหยก" (The Heaven Sword and Dragon Sabr 1978) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นแรกของช่องทีวีบีและยังเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ทำเป็นละครชุดขึ้นมา โดยมีการคัดเลือกนักแสดงนำ เจิ้งเส้าชิว ให้รับบทเป็น เตียบ่อกี้, วังหมิงฉวน เป็น เตี๋ยเมี่ยง และ เจ้าหย่าจือ เป็น จิวจี้เยียก ซึ่งเป็นหนึ่งในละครที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนั้นและยังได้รับคำวิจารณ์ในแง่ที่ดีมากจากเจ้าของบทประพันธ์ คือ กิมย้ง

ละครชุดนี้มีการลงจอเมื่อวันที่ 13 พ.ค. - 16 มิ.ย. พ.ศ. 2521 (1978) ในช่วงระหว่างที่มีการออนแอร์ละคร ดาบมังกรหยก ฉบับนี้บนหน้าจอโทรทัศน์ ได้เกิดกระแสแฟนคลับสองกลุ่มขึ้นมา คือ กลุ่มแฟนคลับวังหมิงฉวน (เตี๋ยเมี่ยง) และ กลุ่มแฟนคลับเจ้าหย่าจือ (จิวจี้เยียก) ทั้งสองกลุ่มแฟนคลับต่างมีประเด็นถกเถียงกันขึ้นมาไม่เว้นแม้แต่สื่อ กลายเป็นหัวข้อที่มีกระแสร้อนแรงในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก และส่งผลให้เรตติ้งพุ่งสูงขึ้นตามลำดับชนิดที่ละครของทางฝั่ง อาร์ทีวี และ เจียซื่อ ที่นำมาออกอากาศชน เรตติ้งสู้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย

ดาบมังกรหยก เวอร์ชั่นนี้นอกจากจะเพิ่มความดังให้กับ เจิ้งเส้าชิว และ วังหมิงฉวน แล้วยังส่งเสริมชื่อเสียงให้กับ เจ้าหย่าจือ เป็นอย่างมากจนขึ้นมาเป็นนักแสดงหญิงเบอร์ต้น ๆ ของทางช่องทีวีบี ด้วยเช่นกัน จนทีวีบีได้เพิ่มเธอเข้าไปในกลุ่ม สามยอดมณีเอกแห่งทีวีบี เปลี่ยนชื่อมาเป็น "สี่ดรุณีหยก" (รุ่นแรก) แทน โดยกลุ่ม 4ดรุณีหยกรุ่นออริจินอลส์ดั้งเดิมแห่งยุค 70 ประกอบไปด้วย วังหมิงฉวน, หวงซู่อี้, หลี่ซือฉี และ เจ้าหย่าจือ (ก่อนทีวีบี จะคัด หวงซู่อี้ และหลี่ซือฉี ออกจากกลุ่มแล้วเอานักแสดงหญิงคนอื่นมาแทนในเวลาต่อมา)[29]

ในปีพ.ศ. 2522 (1979) ทีวีบีได้ออนแอร์ละครที่สร้างจากนิยายของ โกวเล้ง เรื่อง ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์ (God Of Sabre 1979) ทำให้ทั้ง หลิวสงเหยิน และ เจ้าหย่าจือ กลายเป็นคู่ขวัญในจอ เพราะละครได้รับความนิยมเป็นอย่างดี

ต่อมาทีวีบีได้เปิดตัวละครเดี่ยวเวลาแปดนาฬิกาในวันธรรมดา และปีนี้ อาร์ทีวี ได้เปิดตัวละครศิลปะการต่อสู้เรื่อง "กระบีไร้เทียมทาน" เมื่อออกอากาศก็เกิดปรากฎการณ์แย่งเรตติ้งจากละครทีวีบีที่ฉายชนในช่วงเวลาเดียวกันได้และมีเรตติ้งเหนือกว่า ต่อมาทางทีวีบีได้สู้กลับโดยหยิบบางตอนในนวนิยายของโกวเล้งเรื่อง ชอลิ่วเฮียง มาสร้างและดึงนักแสดงชั้นแนวหน้าของทางช่อง อย่าง เจิ้งเส้าชิว มารับบท ชอลิ้วเฮียง และเริ่มถ่ายทำ เพื่อแย่งชิงเรตติ้งกลับคืนมาจากละครของทางอาร์ทีวี และในที่สุดก็เอาชนะได้ และสามารถดึงผู้ชมกลับมาดูค่ายทีวีบีในช่วงท้าย ๆ เรียกได้ว่า "ฟื้นคืนพื้นที่สีแดงที่หายไป" ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนและเรตติ้งช่วงท้ายของ กระบี่ไร้เทียมทาน ทำได้ไม่สูงนักและตั้งแต่นั้นมา ในช่วงแปดนาฬิกาจุดเน้นหลักคือการออกอากาศเวลา ประมาณ 15 ถึง 20 ตอน เพื่อเป็นต่อต้านการรุกรานของละครโทรทัศน์ของไต้หวัน ที่เริ่มบุกตลาดในฮ่องกงอีกด้วย

ถึงแม้ ชอลิ่วเฮียง เวอร์ชั่น เจิ้งเส้าชิว จะสามารถเอาชนะเรตติ้งช่วงท้าย ๆ ของ กระบี่ไร้เทียมทาน ได้ และชอลิ่วเฮียง ยังได้เรตติ้งต่อตอนสูงกว่า สามารถทำเรตติ้งได้สูงถึง 77% ในฮ่องกง (70% ในไต้หวัน) แต่ทว่า แชมป์เรตติ้งละครในปีนั้น กลับไม่ใช่ละครทั้งสองเรื่องดังกล่าว แต่กลับเป็นละครสากลยอดนิยมความยาว 80 ตอนจบเรื่อง "เทพบุตรชาวดิน" (The Good, The Bad, and The Ugly หรือ Man in the Net 1979) นำแสดงโดย โจวเหวินฟะและ เจิ้งอวี้หลิง หลังจากออกอากาศเรื่องนี้ไปได้ไม่นาน ผลตอบรับของละครเรื่องนี้ในฮ่องกงดีมากเมื่อถึงตอนอวสาน ทีวีบีได้ประกาศความสำเร็จของละครเรื่องนี้ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงถึง 60 จุดเปิด ละครเรื่องนี้นอกจากจะเป็นแชมป์เรตติ้งละครแห่งปีแล้ว ยังกลายเป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงที่สุดของละครทั้งหมดในยุคทศวรรษ 70s (อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสิบละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน) ทำให้พระเอก-นางเอกคือ โจวเหวินฟะและเจิ้งอวี้หลิง โด่งดังเป็นพลุแตกทั่วทั้งเกาะฮ่องกงและเมื่อนำละครเรื่องนี้ออกฉายทั่วเอเชีย ก็โด่งดังมากเช่นกัน ทำให้ทั้งคู่พระ-นางกลายเป็นคู่ขวัญยอดนิยมแห่งช่วงปลายยุค 70s-ต้นยุค 80s ทันที จากนั้นสื่อมวลชนทั้งหลายในฮ่องกงเห็นพ้องตรงกันว่า เจิ้งอวี้หลิง เป็นนักแสดงหญิงชื่อดังแต่สวยไม่ตามพิมพ์นิยมในยุคสมัยนั้น จึงได้มีการตั้งฉายาเรียกเธอว่า "ลูกเป็ดขี้เหร่" แห่งวงการจอแก้วฮ่องกง เปรียบเธอคล้ายกับ บาร์บรา สไตรแซนด์ นักแสดงหญิงชื่อดังแห่งยุคของฮอลลีวูดทางฝั่งอเมริกา ที่มีฉายาว่า ลูกเป็ดขี้เหร่ เช่นกัน

หลังจากความสำเร็จอย่างสูงของละครเรื่อง เทพบุตรชาวดิน ทำให้ทั้ง โจวเหวินฟะ และ เจิ้งอวี้หลิง มีโอกาสได้ร่วมเล่นละครตามมาอีกหลายเรื่อง แต่ก็มีบางเรื่องที่ได้เล่นคู่กับดาราคนอื่นบ้างสลับกันไป จากความโด่งดังในช่วงท้ายยุค 70 ส่งให้ เจิ้งอวี้หลิงและดาราสาวอีกคน คือ หวงซิ่งซิ่ว เข้ามาแทนสองนักแสดงรุ่นพี่ (หวงซู่อวี้และหลี่ซือฉี) ในกลุ่ม 4ดรุณีหยกเดิม ร่วมกับอีกสองนักแสดงสาวยอดนิยม คือ วังหมิงฉวน และ เจ้าหย่าจือ

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีกรุงเทพ สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีโทรทัศน์ในฮ่องกง http://big5.china.com.cn/culture/txt/2007-09/27/co... http://eladies.sina.com.cn/movie/movie/1999-8-11/6... http://www.bbc.com/zhongwen/trad/china/2016/04/160... http://hkmdb.com/db/people/view.mhtml?id=2157&disp... http://yule.sohu.com/00/93/article213029300.shtml http://pdf.sznews.com/hkcd/2000/0411/newsfile/n14-... http://www.am730.com.hk/column-264440 http://www.rthk.org.hk/broadcast75/topic03a.htm http://www.rthk.org.hk/broadcast75/topic03c.htm http://life.sinchew.com.my/node/19990?tid=64